วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

3.OO丼 X 材料

    สวัสดีค่ะทุกคนนนน(*´・ω・)ノー วันนี้้ไปเดินเล่นที่CTW กับParagonมาค่ะ ตอนที่กำลังหาร้านทานอาหารกลางวันเดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ร้านอาหารญี่ปุ่นเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นร้านระดับFast food ไปจนถึงระดับร้านHi-end มีเยอะจนรู้สึกว่าไม่ต้องไปญี่ปุ่นก็ได้นะฮ่าๆๆเริ่มรู้สึกว่าถ้าหาร้านอาหารไทยทานน่าจะยากกว่า แล้วพอดีก็เดินผ่านร้านข้าวหน้าเนื้อYoshinoya ก็ทำให้นึกถึงตัวเองตอนที่ไปอยู่ญี่ปุ่นสมัยสกิลภาษาญี่ปุ่นยังง้อยมากๆ
(คือตอนนี้ก็ดีขึ้นกว่าตอนนั้นนิดนึง
(T∇T)アハハ・・เวลาจะสั่งอะไรก็จิ้มเมนูอย่างเดียว)

    บ่นมาตั้งนานมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ 
ในร้านอาหารญี่ปุ่นที่เป็นลักษณะที่อาหารเป็นชาม เป็นถ้วย(สังเกตได้จากพวกชื่ออาหารที่จะลงท้ายด้วย‘ด้ง丼’นะคะสำหรับคนที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น)เวลาสั่งอาหารก็จะมีไซด์ให้เลือกค่ะ แล้วทีนี้จะไปพูดว่า
‘大きいサイズ’ ‘小さいサイズ’
อะไรแบบนี้มันก็ไม่เท่เลยนะคะ
(สมัยก่อนก็พูดแบบนี้ ฮือออ ดูเด๋อมาก)
มาดูศัพท์ที่นิยมใช้ในร้านแบบนี้กันดีกว่าค่ะ 
                        

    จะเห็นได้ว่ามีคันจิพี่โผล่มาบ่อยๆบนเมนูคือ
並盛 なみもりขนาดปกติ
大盛 おおもりขนาดใหญ่
特盛 とくもりขนาดพิเศษ
และในบางร้านก็จะมี ミニ盛 ミニもりด้วยค่ะ
เช่นร้าน松屋(まつや)


จะเห็นได้ว่าคันจิตัวหน้านั้นก็เป็นคันจิที่บอกถึงขนาดตรงตัวตามความหมายของตัวคันจินั้นๆเลย ส่วนคันจิตัวหลังคือจะมาจากคำว่า盛るที่แปลว่า กองพูน หรือ ตัก(อาหารใส่จาน)นั้นเอง พอเอามารวมกันก็เท่ากับเป็นขนาดของอาหารนั้นเอง และนอกจากจะมาดูเรื่องขนาดกันแล้ว ร้านอาหารต่างๆของญี่ปุ่นค่อยข้างที่จะใส่ใจผู้บริโภคมากๆ เพราะทุกร้านจะมีปริมาณแคลลอลี่ ส่วนประกอบ(สำหรับคนที่แพ้อาหารบางชนิด)และสารอาหารต่อหนึ่งหน่วยบริโภค สามารถหาดูได้ตามข้างซองผลิตภัณท์ เมนู หรือในเว็บไซด์ของร้านค่ะ ลองมาดูของเว็บ
松屋(まつや)กันค่ะ

ตารางอลังการมากค่ะ(ในประเทศไทยสำหรับคนที่แพ้อาหารนี่ลำบากมากค่ะ ใส่อะไรไปบ้างก็ไม่รู้บางทีถามพนังงานก็โดนเหวี่ยงใส่อีก) แงヽ(`Д´)ノ )มาดูตรงคำข้างบนกันค่ะ
特定原材料 とくていげんざいりょう
แปลว่าวัตถุดิบเฉพาะค่ะ 


アレルギー物質 ぶっしつ คือสิ่งที่(คนน่าจะ)แพ้
มาดูสิ่งที่คนเราน่าจะแพ้กันได้ในอาหารกันค่ะ

小麦こむぎ แป้ง

落花生 らっかせい ถั่วลิสง คำนี้ปกติไม่ค่อยเห็นบ่อย แต่จะเห็นเป็นคำว่า ピーナツค่ะ เพิ่งรู้เหมือนกันว่าพอเป็นคำทางการแล้วจะใช้(._.〃)

魚介類 ぎょかいるい อาหารทะเล

大豆 だいず ถั่วเหลือง
อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือ คุณค่าทางโภชนาการค่ะ



เห็นแคลลอลี่ทีก็สะเทือนใจกันเลยทีเดียวค่ะ(*゜_゜)
栄養成分
栄養 えいよう คุณค่าทางอาหาร
成分 せいぶん ส่วนประกอบ

たんぱく質 たんぱくしつ โปรตีน
脂質 ししつ ไขมัน
炭水化物 たんすいかぶつ คาร์โบไฮเดรต
食塩相当量 しょくえん そうとうりょう เกลือ(โซเดียม)

ถึงแม้คำศัพท์เหล่านี้บางคนเห็นแล้วก็คงพอเดาได้ว่าเป็นอะไร แต่ถ้าให้อ่านว่าอ่านว่าอะไรก็เชื่อว่าคงจะเงิบกันไปเบาๆเลยทีเดียว(เวลาจะอธิบายอะไรทีว่าที่ไม่กินเพราะคาร์บมันเยอะมากกับคนญี่ปุ่นทีนี่พูดไม่ออกเลยค่ะ เพราะเป็นคนที่กลัวอ้วนแล้วโฮสที่ญี่ปุ่นชอบบังคับให้กินข้าวเยอะๆ) ทีนี้คราวหน้าถ้าจะลองทานขนมของญี่ปุ่นกันก็ลองพลิกกล่องพลิกซองอ่านกันดูเล่นๆก่อนก็ได้นะคะ จะได้ฝึกคันจิไปด้วย เย่ๆ

・ω・`)おやすみぃ♪

4 ความคิดเห็น:

  1. จะเห็นได้ว่า . . . หิว !!!!!

    พาไปกินเลยนะมัมมี่

    ตอบลบ
  2. ไปค่ะไป จะได้ใช้ศัพท์ที่หามา
    เอ่อพนงเป็นคนไทยค่ะ โถ่!

    ตอบลบ