วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

6.家 X 者

ช่วงนี้ในคาบเรียนทั้งJap con,Jap writeก็จะเริ่มพูดถึงเรื่องอนาคตและการทำงานกันแล้วนะคะ รู้สึกยังไม่พร้อมกับเรื่องพวกนี้เลย555(#ร้องไห้หนักมาก)


ก็ได้ยินเพื่อนๆหลายคนพูดกันบ่อยว่าอยากเป็นล่าม นั้นก็คือ 通訳者แล้วทีนี้ก็มาคิดดูเล่นๆว่า ปกติพวกคำศัพท์เกี่ยวกับพวกคน หรืออาชีพก็มีอีกคำที่ใช้บ่อยๆก็คือนี่เอง แล้วทำไมคำว่า通訳ถึงไม่ใช้กับคำว่าเลยลองมาหาวิธีใช้คันจิสองตัวนี้ดูค่ะ

家 音読み:カ、ケ
  訓読み:いえ、や
มีความหมายว่า บ้าน ครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญ

者 音読み:シャ
  訓読み:もの
มีความหมายว่า คน(person)

โดยวิธีการใช้ของสองคำนี้ที่ไปหามาคือ แบบแรก

家 จะใช้กับผู้ที่ชำนาญเฉพาะทาง หรือมีความสามารถเฉพาะในด้านนั้นๆเลย(expert)

จะใช้กับคนที่ทำหน้าที่ หรือบทบาทที่ได้รับมอบหมาย หรือจะใช้ในลักษณะที่เป็นปัจเจคบุคคล 
นิสัยคน

อย่างเช่น ถ้าเราใช้คำว่า 通訳者ก็จะแปลได้ว่าคนที่ทำอาชีพล่าม หรือทำหน้าที่ล่ามอยู่ แต่ถ้าใช้คำว่า 
通訳家(ซึ่งปกติไม่ใช้)ก็จะให้อารมณ์ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปล แปลเฉพาะทางเช่นวรรณคดี หรือกฏหมาย อะไรก็ว่าไปค่ะ

พวกคำที่ใช้เช่น
愛読者 あいどくしゃ             คนที่รักการอ่าน
請負業者 うけおいぎょうしゃ ผู้รับเหมา
運転者 うんてんしゃ    คนขับ

ที่อ่านว่าものบางส่วนก็จะเป็นนิสัยคน
เช่น
浮気者 うわきもの              เจ้าชู้
怠け者  なまけもの             ขี้เกียด
慌て者 あわてもの     คนที่รีบเร่ง
เป็นต้น


ซึ่งเท่าที่หาดูคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีนี้กัน
แต่ไปเจอวิธีแยกอีกแบบมา ซึ่งรู้สึกว่ามันเจ๋งมาก เพิ่งรู้ว่ามีอะไรแบบนี้ด้วยก็คือ!
แบ่งตามสายวิทย์ และสายศิลป์ 

ขอแอบขั้นด้วย The theory of everything เพราะพระเอกเพิ่งได้ออสก้าค่ะ ♥
เป็นฉากที่พระเอกนางเอกเจอกันครั้งแรก ดูแนะนำตัวด้วยสายที่เรียน พระเอกเนิร์ดมากค่ะ น่ารัก555

อย่าเพิ่งงงค่ะ 
ลองคิดดูนะคะ ปกติที่เราเห็นที่ลงด้วยมีอะไรบ้างเอ่ย
      芸術家 げいじゅつか  ศิลปิน
       作家          さっか      นักเขียน
       画家           がか      จิตรกร
       書家           しょか    นักเขียนตัวอักษร
      音楽家       おんがくか  นักดนตรี

เราก็คิดว่าถ้าใช้หลักการนี้ในการจัด คำว่า
      政治家       せいじか   นักการเมือง
      企業家       きぎょうか  นักอุตสาหกรรม 
      起業家        きぎょうか  นักธุรกิจ(คนที่            สร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมา)
ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
ในด้านสายวิทย์ เช่น
     医者   いしゃ             หมอ
     科学者  かがくしゃ  นักวิทยาศาสตร์
เป็นต้น

ก็ถ้าเป็นคนต่างชาติจะใช้เซ้นแบบคนญี่ปุ่นในการเลือกใช้ก็อาจจะยากสักนิด ทางที่ดีคือควรลองใช้บ่อยๆแล้วจะคุ้นแล้วจำได้เองค่ะ แต่วิธีการแบ่งแบบนี้ก็เป็นอีกทางเลือกนึง ก็ลองไปใช้ดูได้ค่ะ


 

2 ความคิดเห็น:

  1. แว๊บมาแอบอ่าน อิอิ แบบที่แบ่งเป็นสายวิทย์สายศิลป์น่าสนใจมาก เพิ่งสังเกต แบบว่าเออจริงด้วยแฮะ555
    เคยเห็นคำว่า運転手 ด้วยอะ ต่างกับ 運転者ยังไงหรอ

    ตอบลบ
  2. 運転手 คือคนที่ืหน้าที่ขับรถกันแบบจริงจัง เช่นใช้เรียกคนขับแท็กซี่ ภาษาไทยก็จะแปลว่าคนขับรถค่ะ
    แต่運転者จะใช้กับคนที่ขับอะไรก็ได้ อาจจะแปลว่าคนที่กำลังขับรถ

    ตอบลบ