วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

7.状 X 態 X 体

สวัสดีค่ะ ห่างหายจากบล็อกไปนานเพราะมรสุมมิดเทอม เกือบตาย
วันนี้ก็เพิ่งสอบเสร็จค่ะ เอาเป็นว่าสอบเสร็จก็คือสอบเสร็จ ลืมๆมันไปดีกว่าค่ะ (T∇T)アハハ・・・(|||_ _)ハハ・・・ 

วันนี้จะมานำเสนอคันจิสามตัวนี้ค่ะ

「状」、「態」、「体」
の漢字はそれぞれどう違うの?
คันจิหน้าตาบ้านๆเห็นกันมาตั้งแต่สมัยมินนะโนะนิฮงโกะ!

เห็นกันบ่อยๆแต่ก็ไม่รู้ว่าต่างกันยังไง ถ้าดูคันจิเดี่ยวๆแล้วคันจิทั้งสามตัวจะมีความหมายที่ใกล้กันมากค่ะ เพราะฉะนั้น เราจะไม่มานั่งจำความหมายของคันจิแต่ละตัวกัน แต่มาจำกันเป็นคำศัพท์เลยดีกว่าค่ะ 
(มันต้องเวริคกว่าแน่ๆ)



「状」じょう
 เป็นความหมายที่เอาไว้ใช้บอก อธิบายถึง สถาพ ลักษณะ หรือ สถานการณ์ของสิ่งต่างๆ เช่นคำว่า 
状況 じょうきょう สถานการณ์
เช่น 危険な状況が起こった。
状勢 じょうせい  สถานการณ์(ที่เปลี่ยนแปลง)
เช่น 政治状勢が変わった。

     ใช้กับความหมายที่เกี่ยวกับจดหมาย หรือสิ่งที่เขียน
เช่น 状態状 しょうたいじょう จดหมายเชิญ
  案内状 あんないじょう  บัตรเชิญ
  賞状  しょうじょう ใบประกาศ  เกียรติคุณ
เป็นต้น


「態」タイ/(わざ)

เป็นคำที่ใช้อธิบายสภาพจิตใจ อารมณ์ สิ่งที่มองเห็น รูปลักษณะภายนอก
เช่น 状態 じょうたい สถานการณ์ สภาพ(ของสิ่งสิ่งหนึ่ง)
เช่น その古家はひどい状態であった。
  態度 たいど ท่าทางที่แสดงออก
เช่น あの人の態度が悪いね。

คือจะเห็นได้ว่าความหมายจะใกล้กับมาก แต่พอเป็นคำแล้วความหมายจะต่างกันออกไปเลย ก็จำเป็นคำไปเลยน่าจะดีกว่าค่ะ เพราะกว่าจะมานั่งแยกอาจจะเสียเวลามาก ดีไม่ดีอาจจะใช้ผิดด้วย



「体」タイ、テイ/からだ、かたち

สำหรับคำนี้ก็แน่นอนว่าความหมายแรกคือ

1    ร่างกาย 
เช่น 身体 しんたい ร่างกาย
       体操 たいそう กายบริหาร


2   ความหมายที่สองคือรูปร่าง
เช่น 体積 たいせき ปริมาตร
       個体 こたい  เฉพาะบุคคล
     字体 じたい  รูปแบบตัวอักษร


ถึงแม้ว่าจะจำเป็นคำไปเลยจะง่ายกว่า แต่หลังจากที่รู้ความหมายคันจิก็จะพอเดาวิธีใช้ได้มากขึ้น ปกติที่จะจะชอบงงคำว่า 状態 กับ 状況 เพราะความหมายเป็นไทยแล้วจะเหมือนกันมาก แต่พอลองแบ่งคัดจิเป็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกว่าแบ่งวิธีใช้ได้เข้าใจมากขึ้น ว่า状態 จะใช้อธิบายสภาพสิ่งที่เห็นแต่状況 จะอธิบายภาพรวมถึงสิ่ง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงนั้น

ก็จะกลับมาอัพบล็อกทุกอาทิตย์เหมือนเดิมแล้ว รอติดตามกันด้วยนะคะ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น